วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดี่ ที่ 14 เดือนพฤศจิกายน 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ 
กลุ่มเรียน 102 วันพฤหัสบดี  เวลา 15.00 - 17.30 น.
************************************************************************

การเรียนการสอน

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Needs)
  • ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำ เนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการ แก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถให้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่อง อาจหมดไปทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการ
  • ทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล




ประเภทของเด็กพิเศษ


  1. กลุ่มเด็กที่มีความสามารถสูง หรือเป็นเลิศทางปัญญา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และพัฒนาตนเองได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถทางสติปัญญา หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา จะพบระดับสติปัญญาสูงกว่า 120 ขึ้นไป
  2. กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่อง ด้วยความสามารถ กลุ่มนี้จำแนกได้ 9 ประเภทคือ
  •   เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 


ด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 

ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ดังนี้
  1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม เช่น การชันคอ
  2. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  3. ช่วงความไม่สนใจสั้น วอกแวก
  4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
  5. ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
  6. อดทน ต่อการรอคอยน้อย
  7. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
  8. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าการอ่าน
  9. การจำตัวอักษร หรือข้อความน้อยกว่าวัย
  10. มักมีปัญหาทางการพูด
  11. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
  12. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  13. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยเดียวกัน
  14. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า


  • ด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน


เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  1. ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ ดังนี้
  2. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
  3. มักตะแคงหูฟัง
  4. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  5. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
  6. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  7. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  8. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  9. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  10. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  11. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
  12. ไม่ชอบร้องเพลงไม่ชอบฟังนิทานแต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
  13. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
  14. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้





  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น



ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องการใช้สายตา เช่นการเล่นช่อนหา
  3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  4. มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  5. ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
  7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
  10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต



สิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
  • ชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้รับผลกระทบจากลักษณะความบกพร่องของตนเอง ครอบครัว สังคม และการช่วยเหลือดูแลที่ได้รับ สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่คนรอบข้างควรรับรู้คือ ระดับความต้องการความช่วยเหลือของเด็กคนหนึ่งอาจเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สำคัญของชีวิต เช่น การเข้าโรงเรียน หรือการเข้าสู่วัยรุ่น